ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
1) ระดับกองทุน
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร (ดอกเบี้ยและส่วนลด) หากเงินได้ที่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานได้รับไม่ใช่เงินได้ประเภทดังกล่าว เงินได้นั้นก็ไม่มีภาระที่จะต้องเสียภาษี
นอกจากนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ที่เกิดขึ้นจากการโอนทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทุนจะได้รับยกเว้น หากในการโอนดังกล่าวมีสัญญากำหนดให้กองทุนต้องโอนทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือจะโอนต่อให้แก่ส่วนราชการ และเมื่อกองทุนได้โอนทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานกลับคืนเจ้าของเดิมหรือส่วนราชการตามสัญญาก็จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์เช่นเดียวกัน
ระดับผู้ถือหน่วยลงทุน
สำหรับกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในประเทศ
บุคคลธรรมดา | นิติบุคคล | ||
---|---|---|---|
กรณีบริษัทจดทะเบียน | กรณีบริษัทจำกัด | ||
ภาษีเงินปันผล | ยกเว้นภาษีเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปีภาษี นับตั้งแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนตั้งกองทุนรวม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด* โดยหลังจากนั้นเงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 |
ได้รับการยกเว้นภาษีเงินปันผล โดยต้องถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ต้องนำเงินได้จากเงินปันผลทั้งจำนวนไปเสียภาษี |
เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 ซึ่งเงินปันผลดังกล่าวจะต้องถูกรวมคำนวณเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งการเสียภาษีแบ่งได้ 2 กรณี คือ |
ภาษีกำไรส่วนต่างราคา | ยกเว้น | รวมคำนวณเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล |
สำหรับกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต่างประเทศ
บุคคลธรรมดา | นิติบุคคล | |
---|---|---|
ภาษีเงินปันผล | ยกเว้นภาษีเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปีภาษี นับตั้งแต่ปีภาษีที่มีการจดทะบียนตั้งกองทุนรวม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกำหนด* โดยหลังจากนั้น เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 | เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 ส่วนการเสียภาษีของนิติบุคคลจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ใช้บังคับกับนิติบุคคลนั้นๆ |
ภาษีกำไรส่วนต่างราคา | ยกเว้น | กำไรส่วนต่างราคาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ส่วนการเสียภาษีของนิติบุคคลจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ใช้บังคับกับนิติบุคคลนั้นๆ |
2) ค่าธรรมเนียมการโอนหรือการเช่า**
ภาษี | รายละเอียด |
---|---|
ค่าธรรมเนียมการโอน | ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 (ไม่เกิน 100,000 บาท) ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีสัญญาการรับโอนทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานคืนจากกองทุนหรือมีสัญญาโอนต่อให้ส่วนราชการ |
ค่าจดทะเบียนการจำนอง | ลดหย่อนค่าจดทะเบียนการจำนอง จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 (ไม่เกิน 100,000 บาท) ในกรณีที่กองทุนเป็นผู้ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน |
ค่าจดทะเบียนการเช่า | ลดหย่อนค่าจดทะเบียนการเช่าจากร้อยละ1 เหลือร้อยละ 0.01 (ไม่เกิน 100,000 บาท) กรณีกองทุนเป็นผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วง และกรณีกองทุนเป็นผู้ให้เช่าหรือผู้ให้เช่าช่วง |
* การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปีภาษีต่อเนื่องกันนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน (กองทุนจดทะเบียนปี พ.ศ. 2558) อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ พระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 544) พ.ศ. 2555
** ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 สิงหาคม 2555 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554